วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ลักษณะสื่อกิจกรรมที่ดี
 1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ การทำกิจกรรมและประเมินผลกิจกรรม
2. ผู้เรียนได้ฝึกฝนพฤติกรรมการเรียนทั้งทางด้านความรู้ เจตคติและทักษะผสมผสานกันเป็นบูรณาการอย่างเป็นระบบ
3. มีลักษณะของการกระทำเด่นชัดด้วยการกำหนดคำที่แสดงถึงการกระทำไว้ด้วยทุกครั้ง
4. กำหนดเงื่อนไขสำหรับประกอบกิจกรรมไว้ชัดเจน สามารถวัดผล และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนได้
5. มีเกณฑ์หรือมาตรฐานในการดำเนินกิจกรรม กำหนดพฤติกรรมที่ถือเป็นระดับต่ำสุดที่พึงพอใจ
6. ใช้เวลาพอเหมาะที่ผู้เรียนจะสามารถดำเนินกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจได้
7. มีการชี้แนวทางหรือนำทางในการดำเนินกิจกรรมได้เด่นชัด
8. กิจกรรมต้องตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
9. กิจกรรมไม่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน มีความยากง่ายเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
10. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ความสำคัญของสื่อ
1.เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ  ค่านิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน
3. เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วย ความสนใจและไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ  เรียน
4. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมและผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จำได้นาน              

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

สื่อการสอนประเภทกิจกรรม
           สื่อประเภทกิจกรรมนับเป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างยิ่งเพราะมีศักยภาพสูงในการถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน  ทำให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสนุกสนาน น่าสนใจ ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสร่วมในกิจกรรม
ความหมายของสื่อกิจกรรม
         สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆที่เป็นตัวกลางที่จะนำมาใช้การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม หรือทักษะที่มีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด
        กิจกรรม หมายถึง การที่ผู้เรียนปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการเรียนรู้
        สื่อกิจกรรม หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์หรือเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนด้วย การดู การฟัง การสังเกต การทดลอง การสัมผัส จับต้องด้วยตนเอง รวมถึงการร่วมแสดงความคิดเห็น  การแสดงบทบาทในละคร  การละเล่น  เกม  กีฬา  การแข่งขันต่างๆตลอดจนการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น  ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์แปลกใหม่ด้วยความเพลิดเพลิน  บางกิจกรรมอาจใช้สื่อวัสดุหรืออุปกรณ์เข้ามาช่วยในการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเรียนรู้เนื้อหาสาระในกิจกรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ความสำคัญของสื่อ
1.เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ  ค่านิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน
3. เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วย ความสนใจและไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ  เรียน
4. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมและผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จำได้นาน              
คุณค่าของสื่อประเภทกิจกรรม
สื่อประเภทกิจกรรมมีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนหลายประการดังนี้
1. ช่วยรวมวัสดุอุปกรณ์หรือประสบการณ์ที่กระจัดกระจายไว้ในที่แห่งเดียวกัน
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกและสามารถทำงานกับบุคคลอื่นได้
3. ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้ร่วมกิจกรรมอื่นๆ
4. ช่วยถ่ายทอดเนื้อหาเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนจากการได้สัมผัสด้วยตัวเอง
5. เป็นนวัฒกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้อย่างเพลิดเพลิน

ลักษณะสื่อกิจกรรมที่ดี
 1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ การทำกิจกรรมและประเมินผลกิจกรรม
2. ผู้เรียนได้ฝึกฝนพฤติกรรมการเรียนทั้งทางด้านความรู้ เจตคติและทักษะผสมผสานกันเป็นบูรณาการอย่างเป็นระบบ
3. มีลักษณะของการกระทำเด่นชัดด้วยการกำหนดคำที่แสดงถึงการกระทำไว้ด้วยทุกครั้ง
4. กำหนดเงื่อนไขสำหรับประกอบกิจกรรมไว้ชัดเจน สามารถวัดผล และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนได้
5. มีเกณฑ์หรือมาตรฐานในการดำเนินกิจกรรม กำหนดพฤติกรรมที่ถือเป็นระดับต่ำสุดที่พึงพอใจ
6. ใช้เวลาพอเหมาะที่ผู้เรียนจะสามารถดำเนินกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจได้
7. มีการชี้แนวทางหรือนำทางในการดำเนินกิจกรรมได้เด่นชัด
8. กิจกรรมต้องตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
9. กิจกรรมไม่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน มีความยากง่ายเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
10. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ประเภทของสื่อกิจกรรม
สื่อกิจกรรมที่นำมาใช้กับการเรียนการสอนมีหลายประเภท ดังนี้
1.การสาธิต (Demonstration)
2.การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
3.นาฏการ (Dramatization)
4. การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา (Community Study)
5. สถานการณ์จำลอง (Simulation)
6. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)